You are here

สมาคมกีฬายิงธนูเเห่งประเทศไทย

สมาคมกีฬายิงธนูเเห่งประเทศไทย ก่อตั้งปี 2513 NATIONAL ARCHERY ASSOCIATION OF THAILAND

ความเป็นมาของกีฬายิงธนูในประเทศไทย

               ในแหล่งสำรวจทางโบราณคดีในเมืองไทยมีการค้นพบหัวลูกธนูหินกะเทาะจากยุคหินใหม่ เช่น ในจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี ลพบุรี และขอนแก่น

                สมัยโยนกนาคพันธ์ (พ.ศ. 638 – 1551) ที่ชนชาวไทยมาตั้งหลักแหล่งในสุวรรณภูมิก็นำธนูมาใช้เช่นเดีบวกับเมื่อตอนที่อยู่ในอาณาจักรน่านเจ้า สิบสองจุไทยและสิบสองปันนา (พ.ศ. 1193 – 1823) ซึ่งก็ยากที่จะหาอะไรมายืนยัน นอกจากตำนานเมืองเหนือที่มหาราชองค์แรกของไทย พระเจ้าพรหมมหาราชยึดเมืองโยนกเชียงแสนคืนจากขแมดำ (พ.ศ. 1479) ด้วยพลธนูไฟ
                ในนครวัดมีรูปแกะสลักบนแผ่นหินตามผนังระเบียง ที่สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724 – 1762) ของขแม แสดงภาพแม่ทัพชนชาวไทยที่กำลังถือคันธนูในท่าทีพร้อมจะยิงอยู่บนหลังช้างนำทัพไทยกับละโว้ร่วรบให้กับขแมสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1656 – 1695) ที่ยกไปตีอาณาจักรจามปาได้เมื่อ พ.ศ. 1688 ซึ่งใช้ธนูกันมาในสมัยต่อมาจนถึงสมัยสุโขทัยและอยุธยา
                เมื่อตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1891 – 2310) หนานทิพย์ช้าง พรานที่มีความชำนาญทั้งการใช้ธนูและอาวุธปืน อาสาเป็นผู้นำไปฆ่าแม่ทัพและขจัดอำนาจการยึดครองของพม่า ให้พ้นจากนครลำปางได้รับสถาปนาเป็น พระยาสุวลือไชยสงคราม ครองนครลำปางเมื่อ (พ.ศ. 2275) เริ่มต้นราชวงศ์จ้าวฝ่ายเหนือ
                เมื่อปืนเข้ามาแทนที่ ธนูคงลดน้อยลงในสมัยรัตนโกสิน (พ.ศ. 2325 – ปัจจุบัน) ที่พอจะเห็นได้คือ คันกระสุน (คันธนูที่ยิงด้วยลูกดิน / ลูกหิน) เท่านั้น ส่วนทางภาคเหนือของประเทศไทยยังมีชาวไทยภูเขาใช้หน้าไม้ที่มีปีกเป็นไม้จจริงและปลีกไม้เป็นไม้ไผ่เป็นอาวุธล่าสัตว์ในที่ห่างไกล
                ตามชานเมืองและในชนบทที่มีต้นไผ่หรือไม้รวก เด็กๆ ก็จะทำคันธนูและลูกธนูมาเล่น ประมาณ พ.ศ. 2498 ห้างแสงอรุณนำเข้าคันธนูไม้ไผ่และลูกธนูไม้รวกจากญี่ปุ่น เช่นเดียวกับห้างไนติ้งเกลโอลิมปิค ก็สั่งคันธนูไม้จากอังกฤษเข้ามาขายในกรุงเทพฯ จึงมีการนำมาใช้ร่วมกันกับอุปกรณ์ธนูทำเอง เพื่อการกีฬา
                ในช่วงเวลาต่อมามีนักกีฬายิงปืนชั้นนำ 3 ท่าน ในชมรมยิงปืนกรมการรักษาดินแดน มองเห็นส่วนที่คล้ายคลึงกันของความประณีตละเอียดอ่อนในการตั้งสติก่อนการยิงซึ่งต้องอาศัยความสามารถและเทคนิคส่วนบุคคลประกอบกันอยู่ในกีฬายิงธนูซึ่งไม่ต่างกับกีฬายิงปืน ซึ่งสามารถพัฒนาให้เป็นกีฬาระดับชาติต่อไป ด้วยการจัดสนามยิงธนูขึ้นในสนามยิงปืนและตั้งกลุ่มนักกีฬายิงธนูที่ใช้อุปกรณ์ธนูที่หาได้หรือสั่งเข้ามาพร้อมทั้งแนะนำเทคนิคการยิงที่ถูกต้องแก่ผู้ที่ให้ความสนใจทั้งนี้ด้วยความอุปถัมภ์สถานที่ของท่านเจ้ากรมฯ ร.ด. ในเวลาเดียวกันก็สมัครเป็นสมาชิกของ (N.A.A. of USA) เพื่อรับทราบความก้าวหน้าและเทคนิคของการยิงธนูระหว่างประเทศ
                จุดผันแปรที่สำคัญของกีฬายิงธนูในประเทศไทยมาถึงเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2512 ที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชวชิราลงกรณ์มงกุฎราชกุมารเสด็จเยี่ยมกรมการรักษาดินแดนและได้ทรงธนู ซึ่งสร้างให้เกิดความสนใจในกีฬายิงธนูเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง จึงมีการจัดสนามยิงธนูกลางแจ้งขึ้นในสถานที่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (EGAT) และเป็นจุดเริ่มต้นของการแข่งขันกีฬายิงธนูอย่างเป็นระบบ มีการจัดการแข่งขันแบบเย้าเยือนกับเจ้าหน้าที่ (U.S.A.I.D.) และพนักงานโครงการแม่น้ำโขงในประเทศลาว ซึ่งเป็นสมาชิกสมาคมยิงธนูสหรัฐเช่นกัน เพื่อพัฒนาการแข่งขันกีฬายิงธนูระหว่างประเทศ 
                ในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 กลุ่มนักกีฬายิงธนูไทยก็ได้รับกาจดทะเบียนสมาคมเป็นทางการว่า “สมาคมกีฬายิงธนูแห่งประเทศไทย” โดยมีที่ตั้งสมาคมอยู่ที่สนามยิงปืนกรมการรักษาดินแดนและสนามยิงธนูในร่มอยู่ที่ชั้นล่างของอาคารยิมเนเซี่ยม 1 ภายในบริเวณสนามกีฬาแห่งชาจิ สมาคมยังได้สมัครเป็นสมาชิกของคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทสไทยและสมาชิกของสหพันธ์กีฬายิงธนูสากล (FITA) ซึ่งตอบรับมาเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2514 พร้อมการตอบรับของคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยในปีเดียวกัน ตั้งแต่นั้นมาสมาคมกีฬายิงธนูแห่งประเทศไทยได้พัฒนาเทคนิคในการยิงธนูให้แก่สมาคมโดยผ่านทางฟีต้าและผ่านทางการติดต่อระหว่างประเทศโดยตรง
                ในปี พ.ศ. 2518 สมาคมยิงธนูร่วมสมาคมยิงปืนเป็นสมาคมกีฬากลุ่มที่ 2 ของไทยที่มีโอกาสได้รับเชิญไปกระชับความสัมพันธ์ทางด้านกีฬากับสาธารณรัฐประชาชนจีนนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 การเชิญประกอบด้วยการแข่งขันกีฬายิงธนูระบบกลางแจ้งที่เมืองเซี่ยงไฮ้และการแข่งขันกีฬายิงธนูระบบในร่ม ที่กรุงปักกิ่งโดยเป็นการแนะนำกีฬายิงธนูระบบในร่มให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีน
                ปี พ.ศ. 2520 เป็นปีแรกที่รวมกีฬายิงธนูเข้าไว้ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 9 ที่ประเทศมาเลเซียและในกรแข่งขันกีฬาเอเซี่ยนเกมส์ครั้งที่ 8 เมื่อปี พ.ศ. 2521 ในประเทศไทย ผลจากการพัฒนาด้านกีฬายิงธนูระหว่างประเทศในประเทศไทยได้ดังนี้
                การแข่งขันกีฬาเอเซี่ยนเกมส์  2 ครั้ง กีฬายิงธนูเอเชี่ยนคับส์ / ชิงแชมป์ 1 ครั้ง การแข่งขันซีเกมส์ 4 ครั้ง กีฬายิงธนูมหาวิทยาลัยชิงแชมป์โลก 1 ครั้ง และการแข่งขันกีฬายิงธนูเอเชี่ยนกรังปรีประจำปีจนถึงปัจจุบัน 2011 (33 ครั้ง)

 

Ancient History of Archery

Ancient History of Archery

 

 FITA

FITA

History01

History02

History03

History04